วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

วันสำคัญทางประเพณี




วันสำคัญทางประเพณี




     
       วันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่ไทยเราจะมีวันปีใหม่แบบสากลเช่นปัจจุบัน เราได้มีการเปลี่ยนแปลงปีใหม่มาแล้วถึง 3 ระยะ คือ เริ่มแรก ถือวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ระยะที่สอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราวช่วงสงกรานต์ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่พ.ศ. 2432 ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม โดยมีเหตุผลว่า วันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี
     
      


30 วันสำคัญของไทย
     
       วันสงกรานต์  เป็นปีใหม่แบบเดิมของไทย ที่นับวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเริ่มต้นปี โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน เป็น "วันมหาสงกรานต์" และถือเป็น "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ"ด้วย ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียก "วันเนา" และถือเป็น "วันครอบครัว" ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า"วันเถลิงศก" หรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปีนี้นางสงกรานต์ชื่อ มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูรย์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูง
    
       

     
    
    
       วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก


ที่มา://hilight.kapook.com/view/61483

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น